Loading...
เทศกาลภาพยนตร์อาเซียน

เทศกาลภาพยนตร์อาเซียน ประจำปี 2562

SAC ASEAN FILM FESTIVAL  เทศกาลภาพยนตร์ที่จัดขึ้นโดยศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เริ่มต้นขึ้น ในปี 2555 ท่ามกลางกระแสตื่นตัวของสังคมไทยที่กำลังเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) มองเห็นโอกาสของความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจของภูมิภาค ตื่นเต้นกับการเคลื่อนย้ายทุนและแรงงาน เกิดกระแสการเรียนรู้อาเซียนในหลากหลายมิติ เรารู้จักคำทักท้ายของเพื่อนบ้าน รู้จักค่าเงิน รู้จักดอกไม้และชุดประจำชาติ หากแต่เรากับไม่เข้าใจวิถีวัฒนธรรมและสภาพสังคมของเพื่อนบ้านอาเซียน

SAC ASEAN FILM FESTIVAL  จึงเป็นความพยายามของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร ในการสร้างพื้นที่แห่งการเรียนรู้อาเซียนในมิติวัฒนธรรมผ่านสื่อภาพยนตร์ ที่คนทั่วไปอาจมองเพียงว่าเป็นสื่อแห่งความบันเมิง แต่ด้วยสายตาแบบนักมานุษยวิทยา ภาพยนตร์เปรียบเสมือน “สื่อบันทึกวัฒนธรรม” ที่ช่วยให้เราเรียนรู้และเข้าใจความหลากหลายทางวัฒนธรรมของเพื่อนบ้านอาเซียน เพราะขณะที่ฉายภาพวิถีชีวิตของเพื่อนบ้านที่โลดแล่นบนจอภาพยนตร์ ก็เหมือนกระจกส่องสะท้อนให้เราย้อนมองตัวเองอย่างพินิจและเข้าใจสภาพของสังคมไทยได้ดียิ่งขึ้น เฉกเช่นเดียวกับนักมานุษยวิทยาที่เดินทางไปศึกษาวัฒนธรรมในพื้นที่ที่ห่างไกลก็เพื่อจะเข้าใจ “เขา” และมองตัว “เรา” อย่างเข้าใจมากยิ่งขึ้น ขณะเดียวกันภาพยนตร์ก็อาจเป็นเหมือนการประกอบสร้างความหมายที่ทำให้เราเห็นและเข้าใจ “ความเป็นอาเซียน” จากหลากหลายมุมมองทั้งจากสายตาของผู้สร้างและผู้ชมที่ต่างมีเสรีภาพในการถอดความหมายที่ประกอบสร้างไว้ในภาพยนตร์ SAC ASEAN FILM FESTIVAL จึงไม่ใช่เทศกาลที่เพียงจัดฉายภาพยนตร์จากประเทศเพื่อนบ้านอาเซียน หากแต่ความสำคัญของเทศกาลคือการเปิดพื้นที่ชวนผู้ชมและผู้สร้างร่วมเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน

ตลอดระยะเวลา 7 ปีที่ผ่านมา SAC ASEAN FILM FESTIVAL ไม่เพียงนำภาพยนตร์จากประเทศเพื่อนบ้านมาเปิดโลกทัศน์เพื่อการเรียนรู้อาเซียนในมิติวัฒนธรรมให้กับสังคมไทยเท่านั้น หากแต่ยังได้สร้างวัฒนธรรมการดูหนังแบบ “ดูหนังเอาความ” คือดูและร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากภาพยนตร์ และนี่คงเป็นความสำเร็จหนึ่งของเทศกาลภาพยนตร์ที่จัดขึ้นโดยศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร ในฐานะที่เป็นสถาบันวิชาการด้านมานุษยวิทยาของชาติ ในการทำหน้าที่ส่งเสริมและสร้างสรรค์กระบวนการเรียนรู้ทางวัฒนธรรมที่ทำให้คนในชาติเข้าใจและยอมรับถึงความหลากหลายทางวัฒนธรรมในบริบทของอาเซียน

สำหรับ SAC ASEAN FILM FESTIVAL 2019 นี้ เราได้เลือกเปิดตัวด้วยภาพยนตร์สารคดีฝีมือคนไทยเรื่อง SOIL WITHOUT LAND เป็นภาพยนตร์เปิดเทศกาล และยังมีภาพยนตร์จากเพื่อนบ้านอีก 5 ประเทศเข้าร่วมเทศกาลได้แก่ THE REMNANTS จากลาว THE FUTURE CRIES BENEATH OUR SOIL จากเวียดนาม IN THE CLAWS OF A CENTURY WANTING จากฟิลิปปินส์ DEMONS จากสิงคโปร์ และ THE SEEN AND UNSEEN จากอินโดนีเซีย และภาพยนตร์สั้นอีก 4 เรื่อง ได้แก่ NEW LAND BROKEN ROAD จากกัมพูชา SHEEPS จากไทย BABYLON จากฟิลิปปินส์ และ BLESSED LAND จากเวียดนาม และแน่นอนที่สุดสำหรับเทศกาลนี้คือเวทีเสวนาที่อยากเชื้อเชิญทุกท่านมาร่วมพูดคุยและเปลี่ยนเรียนรู้กับทีมผู้สร้างและนักแสดง เพื่อเราจะได้เข้าถึงอรรถรสและเข้าใจเพื่อนบ้านอาเซียนของเราได้ดียิ่งขึ้น และเราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าหลังจากชมภาพยนตร์แล้วสายตาของเราจะมองความแตกต่างเป็นความหลากหลายอย่างเข้าใจและเห็นคุณค่าของความเป็น “เพื่อนอาเซียน” ไปด้วยกัน

 

           

ภาพยนตร์ที่ฉายในงาน

Slider

ภาพบรรยากาศภายในงาน

SAC-20190621-119

Image 1 of 9

ภาพบรรยากาศภายในงาน วันที่ 22 มิถุนายน 2562

Image 1 of 5

ภาพบรรยากาศภายในงาน วันที่ 23 มิถุนายน 2562

Image 1 of 9

คณะผู้จัดเทศกาล

เทศกาลภาพยนตร์อาเซียน SAC ASEAN Film Festival 2019 ขอขอบคุณผู้สนับสนุนและผู้มีส่วนร่วมในการจัดเทศกาลทุกท่าน  รวมทั้งผู้ผลิตภาพยนตร์ ผู้ร่วมเสวนา และเจ้าหน้าที่ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

พีรพน พิสณุพงศ์ผู้อำนวยการศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
อภินันท์ ธรรมเสนาผู้อำนวยการเทศกาล
ภาณุ อารีโปรแกรมเมอร์
คมน์ธัช ณ พัทลุงโปรแกรมเมอร์
ธิดา ผลิตผลการพิมพ์ประชาสัมพันธ์ออนไลน์และประสานงานสื่อ
กัญญานาฏ ศิริปัญญาผู้ประสานงานเทศกาล
เจมส์ทอดด์ มิลเลอร์ผู้ช่วยผู้ประสานงานเทศกาล
กนกเรขา นิลนนท์เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์
นนทวัฒน์ นำเบญจพลงานออกแบบสื่อประชาสัมพันธ์
ณัฐพล โรจนรัตนางกูรนักออกแบบกราฟฟิก
เขตน่าน จันทิมาธรประพันธ์เพลงประกอบวีดีโอตัวอย่างเทศกาล
ธรรดร โสตถิอำรุงผู้แปลคำบรรยายใต้ภาพ
ณัฐภัสสร คำยวนผู้แปลคำบรรยายใต้ภาพ

ท้ายที่สุดนี้ ขอขอบคุณทีมงานจากด็อกคิวเมนทารี่ คลับ, โมบิล แลบ โปรเจค,  ไวท์ ไลท์ สตูดิโอ บริษัทเอ็กซ์ตราวาแกนซ่า พีอาร์ และโรงภาพยนตร์เอส เอฟ เวิลด์ ซีเนม่า ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์